วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

หลักการวาดเส้นภาพคนเหมือนครึ่งตัว เต็มตัวภาพสัตว์และภาพวัตถุสิ่งของ

หลักการวาดเส้นภาพคนเหมือนครึ่งตัว (Portrait)

การวาดเส้นภาพคน แบ่งออกเป็น 2 เพศ คือ ผู้หญิง และ ผู้ชาย โครงร่างของ 2 เพศ มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้ชายจะมีโครงร่างที่ดูเข้มแข็ง ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเป็นมัด ส่วนผู้หญิงต้องแสดงส่วนโครงร่างส่วนเว้าอย่างชัดเจนแต่ โดยเฉพาะตรงช่วงสะโพกและช่วงหน้าอก การจะวาดภาพคนให้ได้ถูกต้องและสวยงามนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการหมั่นฝึกฝนอย่างจริงจัง จนเกิดความชานาญ โดยเฉพาะส่วนต่างๆ ของร่างกายต้องให้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง [16]
การวาดเส้น “ภาพคนเหมือนครึ่งตัว”
การวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวนั้น คือ การวาดตั้งแต่บริเวณส่วนศีรษะจนถึงเอว เป็นการวาดเส้นประเภทที่ผู้เริ่มต้นควรฝึกวาดให้เกิดความชานาญ เพราะใบหน้าเป็นส่วนที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ เช่น ตา หู จมูก ปาก ดังนั้นผู้เริ่มต้นควรฝึกฝนให้เข้าใจ การวาดภาพคนเหมือนนั้นแบ่งสัดส่วนออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วนครึ่ง คือ
ส่วนที่ 1 จากปลายคางถึงปลายจมูก
ส่วนที่ 2 จากปลายจมูกถึงคิ้ว
ส่วนที่ 3 จากคิ้วถึงโคนผม
ส่วนที่ 3 1/2จากโคนผมจนถึงส่วนบนของศีรษะ

ก่อนจะฝึกวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัว ควรฝึกวาดหุ่นปูนเสียก่อน ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัว เช่น หุ่นเหลี่ยม หุ่นวีนัส หุ่นเดวิด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจในการวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวได้ง่ายยิ่งขึ้นและเพื่อพัฒนาไปสู่การวาดภาพคนเหมือนเต็มตัว (Figure) การวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวควรแบ่งสัดส่วนให้ถูกต้องชัดเจนเป็นสาคัญ แต่ถ้าฝึกฝนจนชานาญผู้วาดไม่ต้องกาหนดสัดส่วนตามกฎเกณฑ์ก็ได้ โดยอาจจะกาหนดสัดส่วนขึ้นมาเองที่ไม่ต้องลากเส้นแบ่งสัดส่วน แต่ใช้การกะหาระยะด้วยสายตาเอา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและทักษะความชานาญของแต่ละคน
ทั้งนี้ต้องจัดขั้นตอนการฝึกฝนพื้นฐานในการวาดเส้น “ภาพคนเหมือนครึ่งตัว” (Portrait) ด้วยการให้นักศึกษาหรือผู้เรียนฝึกวาดจากหุ่นนิ่งปูนปลาสเตอร์ก่อน เพื่อให้ทราบถึงสัดส่วนต่างๆ ของรายละเอียนบนใบหน้า เช่น ช่วงห่างระหว่างศีรษะถึงปลายจมูก และจากปลายจมูกมาถึงปลายคางแบ่งเป็นระยะเท่าๆ กันใช่หรือไม่ ช่วงห่างระหว่างดวงตาทั้งสองข้างซ้ายขวาเปรียบเทียบกับสัดส่วนของใบหน้าส่วนอื่นๆ แล้วควรห่างเท่าไร ความกว้างของปีกจมูกกับความกว้างของริมฝีปากเท่ากันหรือไม่ ระดับของใบหูทั้งสองข้างอยู่ตรงไหนถึงจะเหมือนหุ่นต้นแบบ การเลือกมุมมองที่สวยงามเพื่อการฝึกสังเกตแสงเงาและแรเงาน้าหนักต่างๆ จากหุ่นนิ่ง ฝึกการลงน้าหนักแสดงระยะใกล้ไกล เป็นต้น การฝึกฝนพื้นฐานเหล่านี้จะสามารถช่วยให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจทางด้านนี้มีพื้นฐานทางการวาดเส้นอย่างแม่นยาและลอกเลียนแบบได้อย่างเสมือนจริงโดยสังเกตจากต้นแบบที่มาจากสิ่งของใกล้ตัวหรือจากธรรมชาติ

หลักการวาดเส้นภาพคนเต็มตัว (Figure)

การวาดภาพภาพคนเต็มตัวนั้น คือ การวาดคนตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า เพื่อศึกษาระบบกล้ามเนื้อ โครงกระดูก สัดส่วน สรีระร่างกายและท่าทางการเคลื่อนไหว การวาดคนเต็มตัว (Figure) มีการแบ่งสัดส่วนออกเป็นทั้งหมดของร่างกายโดยมาตรฐาน 7 ส่วนครึ่ง คือ
ส่วนที่ 1 จากศีรษะบนสุด จนถึง ปลายคาง ส่วนที่ 2 จากปลายคาง จนถึง กลางหน้าอก ส่วนที่ 3 จากกลางหน้าอก จนถึง สะดือ ส่วนที่ 4 จากสะดือ จนถึง โคนขา ส่วนที่ 5 จากโคนขา จนถึง กึ่งกลางขาอ่อน ส่วนที่ 6 จากกึ่งกลางขาอ่อน จนถึง น่อง ส่วนที่ 7 จากน่อง จนถึง ข้อเท้า ส่วนที่ 7 1/2 จากข้อเท้า จนถึง ส้นเท้า
การที่จะวาดภาพคนเต็มตัวได้ดีนั้น ควรจะต้องศึกษากายวิภาค (Anatomy) ควบคู่ไปด้วย การศึกษา วิชากายวิภาคจะเป็นการเรียนรู้เรื่องของสัดส่วนเริ่มจากสัดส่วนของกะโหลก กระดูก โครงสร้างของร่างกายทั้งหมด แล้วจึงศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อที่ผูกยึดติดกับกระดูกนั้นๆ หลังจากนั้นจึงวาดภาพที่มีผิวหนังห่อหุ้มอยู่เป็นขั้นตอน การเรียนรู้ของกายวิภาคซึ่งจะต้องเรียนรู้ทั้งหมดตั้งแต่ ชาย หญิง วัยรุ่น เด็ก และคนชรา หากเราจะเขียนภาพคนเต็มตัว (Figure) ให้ชานาญถูกต้อง ให้เริ่มโดยการศึกษาเรื่องของโครงกระดูกทั้งร่างกายพยายามจารายละเอียดลักษณะของกระดูกแต่ละส่วนให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะศึกษาเรื่องของกล้ามเนื้อที่มายึดติดกับกระดูก [17]



หลักการวาดเส้นภาพสัตว์ (Animal)

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกอย่างจะต้องมีขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งการวาดภาพก็เหมือนกัน จะต้องมีขั้นตอนการร่างวาดเส้นเบาๆ ก่อนที่จะลงรายละเอียดของงาน สาหรับการวาดภาพสัตว์จะมีลักษณะการวาดที่คล้ายๆ กับการวาดภาพคน เพราะจะต้องศึกษากายวิภาคของสัตว์ต่างๆ ทั้งเรื่องโครงกระดูกและกล้ามเนื้อของสัตว์ด้วย ซึ่งความงามของสัตว์ที่วาดออกมานั้นจะต้องเน้นสัดส่วนและรูปร่างของสัตว์ที่มีความโดดเด่นและชัดเจน และถ้าจะวาดภาพเคลื่อนไหวจะต้องเน้นไปที่การเดิน วิ่ง และกระโดด ซึ่งการเน้นการเคลื่อนไหวเหล่านี้จาเป็นอย่างมาก
สาหรับการวาดภาพสัตว์แต่ละชนิดนั้นจะต้องสังเกตและใส่รายละเอียดและจุดเด่นให้กับสัตว์เหล่านั้นด้วย ซึ่งสัตว์แต่ละตัวจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ช้างก็จะมีงวงและงา ยีราฟคอยาว ควายมีเขา เพื่อให้ผู้ชมสามารถที่จะดูแล้วรู้ได้เลยว่าภาพนี้คือสัตว์อะไร สาหรับการวาดภาพสัตว์นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสาหรับนักวาดภาพ เพราะสัตว์ไม่สามามารถที่จะมาเป็นแบบนิ่งให้กับเราได้ ฉะนั้นการวาดภาพสัตว์จะต้องอาศัยความรวดเร็วและคล่องตัวในการวาด เพราะการวาดภาพสัตว์ เป็นการเขียนลักษณะท่าทาง การเคลื่อนไหวของสัตว์ในอาการต่างๆ การวาดภาพสัตว์ต้องใช้ความเร็วและความละเอียดพอควร เพราะสัตว์มีชีวิต ชอบเคลื่อนไหว ดังนั้นผู้วาดภาพจะต้องสังเกตและจดจารายละเอียดให้เร็วและจับลักษณะเอกลักษณ์ของมันให้ได้ สัตว์มีธรรมชาติของสรีระและส่วนประกอบที่สวยงาม น่ารักแตกต่างกัน สัตว์ที่นิยมนามาเป็นแบบในการเขียนภาพ เช่น สัตว์สี่เท้าและสัตว์ปีก ความงามของสัตว์สี่เท้าอยู่ที่สัดส่วน กล้ามเนื้อ ลีลาการเคลื่อนไหว ส่วนสัตว์ปีกจะอยู่ที่แววตาและขน [18]




หลักการวาดเส้นวัตถุสิ่งของ 

โดยขั้นตอนการวาดเส้นวัตถุสิ่งของ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นแบบที่เป็นหุ่นนิ่ง [19] ดังนั้นจึงมีเทคนิควิธีการเฉพาะ ดังนั้นการวาดภาพหุ่นนิ่งต่างจากการวาดเส้นประเภทอื่นตรงที่การวาดเส้นหุ่นนิ่ง ผู้วาดไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่ต้องรู้จักเลือกมุมมองในการวาดออกมาเป็นภาพ ต้องมีความรู้ในการจัดองค์ประกอบศิลป์ของภาพทั้งหมด ต้องมีความรู้ในการลงน้าหนักแสงเงา เพราะผู้วาดแต่ละคนจะมีมุมมอง มีจินตนาการและอารมณ์ต่อแบบหุ่นนิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าซึ่งแตกต่างกันออกไป สาหรับขั้นตอนการวาดภาพหุ่นนิ่งวัตถุสิ่งของ มีดังนี้ 1. กาหนดพื้นที่หรือขอบเขตทั้งหมดของหุ่นให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ 2. กาหนดตาแหน่งของวัตถุภายในโดยให้มีวัตถุหลัก 1 ชิ้น เพื่อเป็นต้นแบบหลักในการเปรียบเทียบกาหนดสัดส่วนกับวัตถุชิ้นอื่น 3. ทาการร่างภาพคร่าวๆ ด้วยดินสอและไม่ควรลงน้าหนักมือในการร่างภาพให้เส้นที่ร่างนั้นมีความเข้มจนเกินไป เพราะจะทาให้มีผลกระทบต่อการแรเงา ไล่เรียงน้าหนักแสงเงา จนทาให้ภาพออกมาดูไม่สะอาดหรือดูเลอะเปรอะเปื้อนได้ 4. ดูตาแหน่งของวัตถุต่างๆ ให้มีสัดส่วนที่ถูกต้องสอดคล้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยมีการวัดสัดส่วนเปรียบเทียบระหว่างวัตถุหลักกับวัตถุอื่นๆ ว่ามีขนาดใหญ่ไปหรือเล็กไป มีตาแหน่งที่วางอยู่ด้วยกันแล้วระดับความสูงต่าถูกต้องหรือไม่ 5. ให้น้าหนักแสงเงาแบบรวมๆ ภาพหุ่นนิ่งนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นหลัง ฉะนั้นหากต้องการให้วัตถุโดยรวมเป็นน้าหนักอ่อน พื้นหลังก็ควรจะเป็นน้าหนักเข้ม หรือหากวัตถุเข้ม พื้นหลังก็ควรจะอ่อน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเรื่องราวที่จะนาเสนอ ดูว่าลงน้าหนักไปแล้วงานดูมีบรรยากาศหรือไม่ เพื่อให้งานที่ออกมามีอารมณ์ความรู้สึก 6. ขั้นตอนต่อมา คือการเพิ่มรายละเอียดของวัตถุ แสงเงา 7. ขั้นตอนสุดท้าย คือ ปรับปรุงแก้ไขจนภาพเสร็จสมบูรณ์
การวาดเส้นเป็นพื้นฐานการเขียนภาพ
ถ้าใครมีทักษะพื้นฐานหรือความชานาญทางการวาดเส้นมาเป็นอย่างดี จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้นไปด้วย โดยต้องคานึงถึงหลักการเขียนภาพ อันมีส่วนประกอบต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ [20]
1. เส้น 2. รูปร่างและรูปทรง 3. ขนาดและสัดส่วน 4. การจัดภาพ 5. การลงน้าหนัก

1. เส้น (Line)

เส้นเป็นมูลฐานสาคัญอันดับแรกของงานศิลปะทุกประเภท และเป็นส่วนสาคัญที่สุดของการเขียนภาพเพราะเส้นถูกใช้งานในการสร้างรูปทรง น้าหนัก แส เงา ตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดปริมาตรและความแน่นที่เป็นรูปทรงของภาพ ความหมายของเส้น คือ จุดหลายพันจุดนับไม่ถ้วน เคลื่อนไหวไปในบริเวณว่าง (Space) ตามทิศทางที่ผู้ลากต้องการ จากผลจากการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เส้นจึงเกิดจากการลาก ขูด ขีด ด้วยวัสดุต่างๆ เช่นดินสอ ปากา พู่กัน แปรง ฯลฯ ขนาดของเส้นจึงมีความกว้าง ยาว หนา บางแตกต่างกันไปตามขนาดของวัสดุที่เรานามาเขียน
2) ขนาดของเส้น การลากเส้นขนาดของเส้นขึ้นอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และเมื่อลากเส้นขนาดของเส้นย่อมเกิดจากอุปกรณ์นั้น เช่น ขนาดจากเส้นปากกาเบอร์ต่างๆ ขนาดจากปลายพู่กัน ตลอดจนเส้นจากแท่งถ่าน (เกรยอง) กิ่งไม้จุ่มหมึก เป็นต้น โดยสามารถแบ่งขนาดของเส้นออกได้ดังนี้ 2.1 เส้นบางหรือขนาดเล็ก (Thin Line) 2.2 เส้นขนาดกลางหรือหนา (Thick Line) 2.3 เส้นขนาดใหญ่หรือทึบ (Variable Line) จากขนาดต่างๆ ของเส้น เมื่อนามาสร้างภาพเรียกว่า การจัดเส้น (Composite Line) คือ การใช้เส้นขนาดต่างๆ ในภาพเดียวกัน อันจะทาให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้นตามอารมณ์ของภาพที่ผู้วาดต้องการนาเสนอต่อผู้รับสารหรือผู้ดูภาพของเรา 
3) ตาแหน่งของปลายดินสอ เทคนิคพื้นฐานของการวาดเส้นให้ได้ขนาดต่าง ๆ โดยการวางตาแหน่งของปลายดินสอ บนพื้นกระดาษ ในลักษณะของการจับดินสอเอียง หรือ เฉียง จะเกิดความแตกต่างของขนาดเส้นที่ได้ ถ้าจับวาดในแนวดิ่งจะได้เส้นเล็ก ถ้าเอียงมุมลง เส้นจะโตขึ้น หรือถ้าต้องการให้ได้พื้นที่มากแบบระบาย ก็จับดินสอให้เอียงมากขึ้น ขนาดของเส้น หนา บาง ใหญ่ หรือเล็กนั้น ขึ้นอยู่ที่การควบคุมน้าหนักมือ การพลิกเลื่อนหามุม และตาแหน่งที่ปลายดินสอ หากปลายดินสอทื่อเส้นดินสอก็จะใหญ่ หนา ถ้าปลายดินสอแหลมเส้นก็จะเล็กบาง ดั้งนั้น ผู้เขียนภาพส่วนมากจะใช้วิธีพลิกเลื่อนมือ หมุนดินสอเปลี่ยนมุมไส้ดินสอหาแง่ที่แหลมทุกครั้ง ที่ต้องการให้เส้นเล็ก และต้องการให้เส้นใหญ่หรือแรเงาเรียบๆก็หามุมที่ต้องการ
4) เส้นร่าง เส้นร่าง เป็นเส้นที่มีความสาคัญมากในการร่างภาพโครงสร้าง ขณะวาดเส้นและใช้แนวดินสอทามุมระนาบของกระดาษประมาณ 15 องศา การวาดเส้นร่างจะวาดด้วยการทางานของช่วงข้อศอกและแขน ดังนั้นการจับดินสอจึงสามารถร่างดินสอได้คล่องตัว ทารัศมีของการร่างเส้นได้กว้างทั่วทั้งแผ่นภาพ คือสามารถร่างเส้นจากส่วนบนของแผ่นภาพลงมาส่วนล่างได้โดยการร่างเส้นเดียวติดต่อกันโดยตลอดและรวดเร็ว การร่างภาพจะร่างเส้นที่มีน้าหนักเบา จะใช้วิธีผ่อนน้าหนักมือจากการจับดินสอนั้น เส้นร่างที่ใช้ในการร่างภาพโครงสร้าง ถ้าคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาด ไม่นิยมลบออกทันทีเพราะการร่างเส้นร่างนั้นด้วยดินสออ่อน 2 บี ,4 บี และร่างด้วยเส้นเบาๆ ก่อน เมื่อผิดพลาดก็ร่างขึ้นใหม่ เส้นเก่าที่ผิดจะเป็นแนวเปรียบเทียบให้เส้นที่ร่างขึ้นใหม่มีความถูกต้อง การลบทิ้งเมื่อผิดพลาดจะทาให้กระดาษช้า และไม่มีเส้นไว้เป็นเครื่องสังเกต การควบคุมน้าหนักมือนั้น มีผลต่อลักษณะของเส้นเช่นกัน ขณะที่ลากเส้นดินสอหากเน้น น้าหนักมือลงปลายดินสอ เส้นที่ปรากกฎก็จะมีน้าหนักเข้ม เส้นหนา และเมื่อต้องการเส้นที่มีน้าหนัก อ่อนเบา ก็จะใช้วิธีผ่อนน้าหนักมือจากการจับดินสอนั้น

2. รูปร่างและรูปทรง (Shape & Form)

รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาว ไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระ ที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล
รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดง ความกว้าง ความยาวแล้วยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย เช่น รูปทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่าน้าหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น