วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

หลักการออกแบบตัวอักษร

ความสาคัญของการออกแบบตัวอักษร

“ตัวอักษร” ที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นชุดเดียวกัน เรียกว่า “ฟอนต์” (Font) ตัวอย่างเช่น angsana UPC, lily, cordia new, tahoma, arial เป็นต้น การออกแบบตัวอักษรเริ่มขึ้นตั้งแต่มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โลหะเพื่อผลิตสิ่งพิมพ์ โดยโจฮานเนส กูเต็นเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ในปี ค.ศ. 1440 ส่งผลทาให้เกิดระบบการพิมพ์เป็นจานวนมาก [42]
เพราะตัวอักษร คือ เครื่องหมายที่ใช้แสดงความรู้สึกนึกคิดและความรู้ของมนุษย์ ช่วยเผยแพร่ความรู้สึกนึกคิดและความรู้ไปยังผู้อื่นได้อย่างกว้างขวาง โดยสร้างประโยชน์เพื่อรักษาความคิดและความรู้ถ่ายทอดไปยังคนรุ่นต่อๆ ไป “ตัวอักษร” เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ช่วยสื่อความหมายสร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพราะมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์เมื่อมีภาษาพูดของตนเองแล้ว จะมีการคิดค้นตัวอักษรไว้ใช้เขียนเพื่อเผยแพร่ในกลุ่มของตนเองด้วย ตัวอักษรในสมัยโบราณ มีวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น
อักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ของชาวอียิปต์โบราณ และอักษรฟินิเชีย (Phoenicia) ซึ่งถือว่าเป็นต้นตอของการกาเนิดเป็นตัวอักษรในภาษาต่างๆ ของทุกชาติ ในเวลาต่อมา
ดังนั้นตัวอักษร จึงจัดว่าเป็นส่วนประกอบสาคัญอันดับต้นๆ ในการออกแบบการจัดวาง (Layout Design) ซึ่งนักออกแบบจาเป็นต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษร ดังนี้คือ
-ดูความเหมาะสมของ “ขนาด” (Type Size)
-ดูความเหมาะสมของ “รูปร่างลักษณะ” (Character)
ตลอดจนกรรมวิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดรวมทั้งการผลิตตัวอักษร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการนามาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมสวยงาม
10.2 ประโยชน์ของการออกแบบตัวอักษร
โดยทั่วๆ ไป มีประโยชน์เป็น 2 ลักษณะสาคัญ คือ
1. ประโยชน์ในการใช้ตัวอักษรเป็นส่วนดึงดูดสายตา มีลักษณะตัวอักษรแบบ Displayface เพื่อการ ตกแต่งหรือการเน้นข้อความข่าวสาร ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาด รูปร่างและรูปแบบตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่มีความเด่นเป็นพิเศษ เช่น การพาดหัวเรื่อง (Heading) คาประกาศ คาเตือน เป็นต้น
2. ประโยชน์ในการใช้ตัวอักษรเป็นส่วนบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา คือการใช้ตัวอักษรเป็น Bookface หรือเป็นตัวพิมพ์เนื้อหาที่มีขนาดเล็กในลักษณะของการเรียงพิมพ์ข้อความ (Typesetting) เพื่อการบรรยายอธิบายส่วน ประกอบปลีกย่อยของข่าวสารและเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารเผยแพร่

ส่วนประกอบของตัวอักษร (Font Anatomy)

องค์กรที่มีหน้าที่กาหนดมาตรฐานของตัวอักษรที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ ทั้งขนาดและลักษณะของตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ง่าย รวมทั้งรายละเอียดต่างๆ คือ ไอเอสโอ หรือ The international standard organization (ISO) ตั้งอยู่ที่กรุงเจนิวา (Geneva) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)




หลักการวาดเส้นทิวทัศน์

ความหมายของการวาดเส้นภาพทิวทัศน์

ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การวาดภาพที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่พบเห็นโดยทั่วไป หรือที่เรียกกันว่า ภาพวิว (View) ซึ่งอาจเป็นภูมิประเทศที่มีแต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติล้วนๆ หรือมีสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างขึ้นประกอบด้วยก็ได้ หรือเรียกว่า “ภาพภูมิทัศน์” การวาดเส้นภาพทิวทัศน์นั้น ผู้วาดจะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ ในหลักของทัศนมิติ (Perspective) หรือ ทัศนียภาพ ให้ดีก่อนจึงจะสามารถถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างถูกต้อง [28]

 การแบ่งภาพทิวทัศน์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1. ภาพทิวทัศน์บก (Landscape) เป็นการเขียนภาพภูมิประเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบนบกเป็นส่วนใหญ่ เช่น ต้นไม้ ภูเขา ท้องนา ป่าไม้ ห้วยหนอง คลองบึง น้าตก ฯลฯ เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศแสงเงา และเรื่องราวต่างๆ ในธรรมชาติ โดยการวาดอาจมีภาพคนหรือภาพสัตว์ประกอบ เพราะจะทาให้ภาพดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
2. ภาพทิวทัศน์ทะเล (Seascape) เป็นการเขียนภาพที่มีบรรยากาศเกี่ยวกับทะเล เช่น หาดทราย เรือประมง โขดหิน น้าทะเล และบรรยากาศทางทะเลต่างๆ รวมทั้งภาพคน สัตว์ บ้านเรือน และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ด้วย
3. ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Structural Landscape) เป็นภาพเขียนที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ตึกอาคาร บ้านเรือน วัด ศาลา โบสถ์ วิหาร รวมทั้งภาพคน ภาพสัตว์ และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ในภาพด้วย

 หลักการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ โดยอาศัยทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective)

การวาดภาพตามหลักทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective) เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่สาคัญมาก เพราะจะทาให้ภาพมีมิติในเรื่องของความลึก ระยะ ใกล้-ไกล ปรากฏอยู่ในภาพ โดยมีหลักในการวาด คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลตาจะมีขนาดเล็ก โดยการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ ตามหลักทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective) นั้น มี 3 แบบคือ
1. แบบจุดรวมสายตา (Vanishing Point) จุดเดียว (One Point Perspective) มีแนวเส้นระดับ ด้านหน้าขนานกับเส้นระดับตา (Horizon Line หรือ Eye Level) ส่วนด้านลึกจะไปรวมกันที่จุดรวมสายตา (VP) ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นระดับตา (HL)
2. แบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point Perspective) คือภาพ Perspective) ที่มีเส้นแนวระดับ
ทั้งด้านหน้าและด้านข้างไปรวมตรงจุดรวมสายตา (VP. 1และ VP. 2) ซึ่งอยู่ด้านซ้ายและขวา
3. แบบรวมจุดสายตา 3 จุด (Three Point Perspective) คือ ภาพ Perspective ที่คล้ายกับ
แบบจุดรวมสายตา 2 จุด แต่เพิ่มการมองจุดรวมสายตาจากจุดที่ 3 (VP. 3) ตรงตามแนวดิ่ง จุดรวมสายตาที่ 3 (VP. 3) ดูภาพได้เมื่ออยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้น ระดับตา (HL)

ขั้นตอนการวาดเส้นภาพทิวทัศน์

อันดับแรก คือ ต้องเลือกสถานที่ซึ่งผู้วาดรู้สึกมีความประทับใจในสิ่งที่ตาเห็น ดังนั้นก่อนวาดภาพทิวทัศน์ควรเลือกทัศนียภาพที่ผู้วาดชอบ รู้สึกได้ว่าเมื่อวาดเสร็จออกมาภาพจะสวยงาม เพราะความชอบจะสร้างแรงบันดาลใจเป็นพลังที่ทาให้ผู้วาดมีความสุขและสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดี

อันดับสอง คือ ใช้สายตามอง คิด และวิเคราะห์รายละเอียดของภาพทิวทัศน์ที่จะวาด ว่ามีรูปร่าง สัดส่วน ลักษณะผิว แสง สี และช่องว่าง ว่ามีลักษณะเช่นไร ภาพที่เหมาะแก่การวาดควรจะมีรายละเอียดที่ชัดเจน เมื่อวิเคราะห์แล้วจึงฝึกวาดแบบร่างก่อนหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดความแม่นยา
อันดับสาม คือ เลือกมุมมองและจัดภาพ การเลือกมุมมองของภาพสาคัญมาก ซึ่งสามารถ หามุมที่ดีได้โดยสร้างกรอบ สนามภาพ ด้วยกระดาษแข็งตัดช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 2 นิ้ว x ยาว 3 นิ้ว เพื่อนาแทนกล้องถ่ายรูป และหลักง่ายๆ ที่ภายในกรอบสนามภาพควรมีคือ จุดสนใจ เอกภาพ และดุลยภาพ
1) จุดสนใจหรือจุดเด่น ที่เป็นจุดที่สร้างความสนใจสะดุดตา และควรมีเพียงจุดเดียวทั้งภาพและ
เนื้อหาที่สื่อออกมา ไม่ควรวางจุดเด่นไว้ตรงกลางเพราะส่งผลทาให้ภาพดูตันๆ เฉยๆ นิ่งๆ ไม่มีชีวิตชีวามากนัก
2) เอกภาพ คือ การจัดภาพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนและสัมพันธ์กัน เพื่อป้องกันความ
สับสน
3) ดุลยภาพหรือสมดุล คือ การจัดภาพให้ถ่วงดุลกันพอดี เช่น - ซ้ายขวาเท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาเหมือนกัน แต่ภาพจะดูธรรมดา ไม่น่าสนใจมากนัก - ซ้ายขวาไม่เท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากัน ซึ่งจะทาให้ภาพดูน่าสนใจมากกว่าแบบแรก
5.5 มุมมองในการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. มุมมองเหนือระดับสายตา หรือตามดมอง หมายถึง มุมที่อยู่สูงกว่าระดับสายตาของผู้วาด
2. มุมมองระดับสายตา หมายถึง มุมที่อยู่ระดับเดียวกับสายตาของผู้วาด
3. มุมระดับต่ากว่าสายตา หมายถึง มุมที่อยู่ต่ากว่าสายตาของผู้วาด
5.6 หลักการแบ่งระยะการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะหน้า (Fore Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ใกล้สุดของภาพ
2. ระยะกลาง (Middle Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ไกลกว่าระยะหน้า ต้องเขียนขนาดของสิ่งต่างๆ ให้เล็กลง
3. ระยะหลัง (Back Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ไกลสุดของภาพ ต้องเขียนให้ความเด่นชัดของแสงเงาน้อยลงกว่าระยะกลางอีก [29]






หลักการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ของภาพ

คุณค่าของงานศิลปะ

หลักการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ของภาพ เป็นหลักสาคัญสาหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และ คุณค่าทางด้านเรื่องราว คุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการนาเอา องค์ประกอบต่างๆ ของศิลปะ ได้แก่ เส้น สี แสงและเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม ซึ่งแนวทางในการนาองค์ประกอบต่างๆ มาจัดรวมกันนั้น เรียกว่า การจัดองค์ประกอบศิลป์ (Art Composition) [27]
อีกคุณค่าหนึ่งของงานศิลปะ คือ คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้างสรรค์ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัสรับรู้ โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปิน นาเสนอเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้น ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นาเสนอ งานศิลปะนั้นก็จะขาดคุณค่าทางความงามไป ดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงมีความสาคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทาให้งานศิลปะทรงคุณค่าทางความงามอย่างสมบูรณ์
4.2 หลักการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ของภาพ มีหลักที่ควรคานึงถึงอยู่ 5 ประการ คือ 4.2.1 สัดส่วน (Proportion) 4.2.2 ความสมดุล (Balance) 4.2.3 จังหวะลีลา (Rhythm) 4.2.4 การเน้น (Emphasis) 4.2.5 เอกภาพ (Unity)

1. สัดส่วน (Proportion) หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดขององค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง และรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลายที่นามาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจพิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.1 สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาติ ของ คน สัตว์ พืช ซึ่งโดยทั่วไป
ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุดหรือจากรูปลักษณะที่เป็นการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่าส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม" ทาให้สิ่งต่างๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว
1.2 สัดส่วนจากความรู้สึก โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียงอย่าง
เดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย สัดส่วนจะช่วยเน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่นนี้ ทาให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไปเช่น กรีก นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็นอุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง จึงแสดงถึงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญาณที่น่ากลัว ดังนั้นรูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป

2. ความสมดุล (Balance) หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้าหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของส่วนต่างๆ ในรูปทรงหนึ่งหรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ลงในงานศิลปกรรมนั้น จะต้องคานึงถึงจุดศูนย์ถ่วงในธรรมชาตินั้น ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้าหนักเฉลี่ยเท่ากันทุกด้าน ฉะนั้น ใน

3. จังหวะลีลา (Rhythm) หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ากันขององค์ประกอบ เป็นการซ้าที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะ โดยเกิดจาก การซ้าของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟหรือเกิดจากการเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้าหนัก รูปแบบๆ หนึ่ง อาจเรียกว่าแม่ลาย การนาแม่ลายมาจัดวางซ้าๆ กันทาให้เกิดจังหวะและถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ด้วยการเว้นช่วง หรือสลับช่วง ก็จะเกิดลวดลายที่แตกต่างกันออกไป ได้อย่างมากมาย แต่จังหวะของลายเป็นจังหวะอย่างง่ายๆ ให้ความรู้สึกเพียงผิวเผิน และเบื่อง่าย เนื่องจากขาดความหมาย เป็นการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกัน แต่ไม่มีความหมายในตัวเอง จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต ได้แก่ การเคลื่อนไหวของคน สัตว์ การเติบโตของพืช การเต้นรา เป็นการเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาลใจในการสร้างรูปทรงที่มีความหมาย เนื่องจากจังหวะของลายนั้น ซ้าตัวเองอยู่ตลอดไปไม่มีวันจบ และมีแบบรูปของการซ้าที่ตายตัว แต่งานศิลปะแต่ละชิ้นจะต้องจบลงอย่างสมบูรณ์ และมีความหมายในตัว งานศิลปะทุกชิ้นมีกฎเกณฑ์และระเบียบที่ซ่อนลึกอยู่ภายใน ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน งานชิ้นใดที่แสดงระเบียบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกินไป งานชิ้นนั้นก็จะจากัดตัวเอง ไม่ต่าง อะไรกับลวดลายที่มองเห็นได้ง่าย ไม่มีความหมาย ให้ผลเพียงความเพลิดเพลินสบายตาแก่ผู้ชม

4. การเน้น (Emphasis) หมายถึง การกระทาให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดาในงานศิลปะจะต้องมี ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่ง ที่มีความสาคัญกว่าส่วนอื่นๆ เป็นประธานอยู่ ถ้าส่วนนั้นๆ อยู่ปะปนกับส่วนอื่นๆ และมีลักษณะเหมือนๆ กัน ก็อาจถูกกลืน หรือ ถูกส่วนอื่นๆ ที่มีความสาคัญน้อยกว่าบดบัง หรือแย่งความสาคัญ ความน่าสนใจไปเสีย งานที่ไม่มีจุดสนใจ หรือประธาน จะทาให้ดูน่าเบื่อ เหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ากัน โดยปราศจากความหมายหรือเรื่องราวที่น่าสนใจ ทาให้ส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้น ให้เห็นเด่นชัดขึ้นมา เป็นพิเศษกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งจะทาให้ผลงานมีความงาม สมบูรณ์ ลงตัว และน่าสนใจมากขึ้น

5. เอกภาพ (Unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่างๆ ให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียว เพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป การสร้างงานศิลปะ คือ การสร้างเอกภาพขึ้นจาก และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการความสับสน ความยุ่งเหยิง เป็นการจัดระเบียบเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน เอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่ 2 ประการ คือ
5.1 เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมี
ความเรียบง่าย งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทาให้สับสนขาดเอกภาพ และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทาให้เกิดเอกภาพแก่ผลงานได
5.2 เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ
ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปินออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะ เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว ความคิด และอารมณ์



หลักการวาดเส้นภาพคนเหมือนครึ่งตัว เต็มตัวภาพสัตว์และภาพวัตถุสิ่งของ

หลักการวาดเส้นภาพคนเหมือนครึ่งตัว (Portrait)

การวาดเส้นภาพคน แบ่งออกเป็น 2 เพศ คือ ผู้หญิง และ ผู้ชาย โครงร่างของ 2 เพศ มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้ชายจะมีโครงร่างที่ดูเข้มแข็ง ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเป็นมัด ส่วนผู้หญิงต้องแสดงส่วนโครงร่างส่วนเว้าอย่างชัดเจนแต่ โดยเฉพาะตรงช่วงสะโพกและช่วงหน้าอก การจะวาดภาพคนให้ได้ถูกต้องและสวยงามนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการหมั่นฝึกฝนอย่างจริงจัง จนเกิดความชานาญ โดยเฉพาะส่วนต่างๆ ของร่างกายต้องให้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง [16]
การวาดเส้น “ภาพคนเหมือนครึ่งตัว”
การวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวนั้น คือ การวาดตั้งแต่บริเวณส่วนศีรษะจนถึงเอว เป็นการวาดเส้นประเภทที่ผู้เริ่มต้นควรฝึกวาดให้เกิดความชานาญ เพราะใบหน้าเป็นส่วนที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ เช่น ตา หู จมูก ปาก ดังนั้นผู้เริ่มต้นควรฝึกฝนให้เข้าใจ การวาดภาพคนเหมือนนั้นแบ่งสัดส่วนออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วนครึ่ง คือ
ส่วนที่ 1 จากปลายคางถึงปลายจมูก
ส่วนที่ 2 จากปลายจมูกถึงคิ้ว
ส่วนที่ 3 จากคิ้วถึงโคนผม
ส่วนที่ 3 1/2จากโคนผมจนถึงส่วนบนของศีรษะ

ก่อนจะฝึกวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัว ควรฝึกวาดหุ่นปูนเสียก่อน ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัว เช่น หุ่นเหลี่ยม หุ่นวีนัส หุ่นเดวิด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจในการวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวได้ง่ายยิ่งขึ้นและเพื่อพัฒนาไปสู่การวาดภาพคนเหมือนเต็มตัว (Figure) การวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวควรแบ่งสัดส่วนให้ถูกต้องชัดเจนเป็นสาคัญ แต่ถ้าฝึกฝนจนชานาญผู้วาดไม่ต้องกาหนดสัดส่วนตามกฎเกณฑ์ก็ได้ โดยอาจจะกาหนดสัดส่วนขึ้นมาเองที่ไม่ต้องลากเส้นแบ่งสัดส่วน แต่ใช้การกะหาระยะด้วยสายตาเอา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและทักษะความชานาญของแต่ละคน
ทั้งนี้ต้องจัดขั้นตอนการฝึกฝนพื้นฐานในการวาดเส้น “ภาพคนเหมือนครึ่งตัว” (Portrait) ด้วยการให้นักศึกษาหรือผู้เรียนฝึกวาดจากหุ่นนิ่งปูนปลาสเตอร์ก่อน เพื่อให้ทราบถึงสัดส่วนต่างๆ ของรายละเอียนบนใบหน้า เช่น ช่วงห่างระหว่างศีรษะถึงปลายจมูก และจากปลายจมูกมาถึงปลายคางแบ่งเป็นระยะเท่าๆ กันใช่หรือไม่ ช่วงห่างระหว่างดวงตาทั้งสองข้างซ้ายขวาเปรียบเทียบกับสัดส่วนของใบหน้าส่วนอื่นๆ แล้วควรห่างเท่าไร ความกว้างของปีกจมูกกับความกว้างของริมฝีปากเท่ากันหรือไม่ ระดับของใบหูทั้งสองข้างอยู่ตรงไหนถึงจะเหมือนหุ่นต้นแบบ การเลือกมุมมองที่สวยงามเพื่อการฝึกสังเกตแสงเงาและแรเงาน้าหนักต่างๆ จากหุ่นนิ่ง ฝึกการลงน้าหนักแสดงระยะใกล้ไกล เป็นต้น การฝึกฝนพื้นฐานเหล่านี้จะสามารถช่วยให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจทางด้านนี้มีพื้นฐานทางการวาดเส้นอย่างแม่นยาและลอกเลียนแบบได้อย่างเสมือนจริงโดยสังเกตจากต้นแบบที่มาจากสิ่งของใกล้ตัวหรือจากธรรมชาติ

หลักการวาดเส้นภาพคนเต็มตัว (Figure)

การวาดภาพภาพคนเต็มตัวนั้น คือ การวาดคนตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า เพื่อศึกษาระบบกล้ามเนื้อ โครงกระดูก สัดส่วน สรีระร่างกายและท่าทางการเคลื่อนไหว การวาดคนเต็มตัว (Figure) มีการแบ่งสัดส่วนออกเป็นทั้งหมดของร่างกายโดยมาตรฐาน 7 ส่วนครึ่ง คือ
ส่วนที่ 1 จากศีรษะบนสุด จนถึง ปลายคาง ส่วนที่ 2 จากปลายคาง จนถึง กลางหน้าอก ส่วนที่ 3 จากกลางหน้าอก จนถึง สะดือ ส่วนที่ 4 จากสะดือ จนถึง โคนขา ส่วนที่ 5 จากโคนขา จนถึง กึ่งกลางขาอ่อน ส่วนที่ 6 จากกึ่งกลางขาอ่อน จนถึง น่อง ส่วนที่ 7 จากน่อง จนถึง ข้อเท้า ส่วนที่ 7 1/2 จากข้อเท้า จนถึง ส้นเท้า
การที่จะวาดภาพคนเต็มตัวได้ดีนั้น ควรจะต้องศึกษากายวิภาค (Anatomy) ควบคู่ไปด้วย การศึกษา วิชากายวิภาคจะเป็นการเรียนรู้เรื่องของสัดส่วนเริ่มจากสัดส่วนของกะโหลก กระดูก โครงสร้างของร่างกายทั้งหมด แล้วจึงศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อที่ผูกยึดติดกับกระดูกนั้นๆ หลังจากนั้นจึงวาดภาพที่มีผิวหนังห่อหุ้มอยู่เป็นขั้นตอน การเรียนรู้ของกายวิภาคซึ่งจะต้องเรียนรู้ทั้งหมดตั้งแต่ ชาย หญิง วัยรุ่น เด็ก และคนชรา หากเราจะเขียนภาพคนเต็มตัว (Figure) ให้ชานาญถูกต้อง ให้เริ่มโดยการศึกษาเรื่องของโครงกระดูกทั้งร่างกายพยายามจารายละเอียดลักษณะของกระดูกแต่ละส่วนให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะศึกษาเรื่องของกล้ามเนื้อที่มายึดติดกับกระดูก [17]



หลักการวาดเส้นภาพสัตว์ (Animal)

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกอย่างจะต้องมีขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งการวาดภาพก็เหมือนกัน จะต้องมีขั้นตอนการร่างวาดเส้นเบาๆ ก่อนที่จะลงรายละเอียดของงาน สาหรับการวาดภาพสัตว์จะมีลักษณะการวาดที่คล้ายๆ กับการวาดภาพคน เพราะจะต้องศึกษากายวิภาคของสัตว์ต่างๆ ทั้งเรื่องโครงกระดูกและกล้ามเนื้อของสัตว์ด้วย ซึ่งความงามของสัตว์ที่วาดออกมานั้นจะต้องเน้นสัดส่วนและรูปร่างของสัตว์ที่มีความโดดเด่นและชัดเจน และถ้าจะวาดภาพเคลื่อนไหวจะต้องเน้นไปที่การเดิน วิ่ง และกระโดด ซึ่งการเน้นการเคลื่อนไหวเหล่านี้จาเป็นอย่างมาก
สาหรับการวาดภาพสัตว์แต่ละชนิดนั้นจะต้องสังเกตและใส่รายละเอียดและจุดเด่นให้กับสัตว์เหล่านั้นด้วย ซึ่งสัตว์แต่ละตัวจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ช้างก็จะมีงวงและงา ยีราฟคอยาว ควายมีเขา เพื่อให้ผู้ชมสามารถที่จะดูแล้วรู้ได้เลยว่าภาพนี้คือสัตว์อะไร สาหรับการวาดภาพสัตว์นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสาหรับนักวาดภาพ เพราะสัตว์ไม่สามามารถที่จะมาเป็นแบบนิ่งให้กับเราได้ ฉะนั้นการวาดภาพสัตว์จะต้องอาศัยความรวดเร็วและคล่องตัวในการวาด เพราะการวาดภาพสัตว์ เป็นการเขียนลักษณะท่าทาง การเคลื่อนไหวของสัตว์ในอาการต่างๆ การวาดภาพสัตว์ต้องใช้ความเร็วและความละเอียดพอควร เพราะสัตว์มีชีวิต ชอบเคลื่อนไหว ดังนั้นผู้วาดภาพจะต้องสังเกตและจดจารายละเอียดให้เร็วและจับลักษณะเอกลักษณ์ของมันให้ได้ สัตว์มีธรรมชาติของสรีระและส่วนประกอบที่สวยงาม น่ารักแตกต่างกัน สัตว์ที่นิยมนามาเป็นแบบในการเขียนภาพ เช่น สัตว์สี่เท้าและสัตว์ปีก ความงามของสัตว์สี่เท้าอยู่ที่สัดส่วน กล้ามเนื้อ ลีลาการเคลื่อนไหว ส่วนสัตว์ปีกจะอยู่ที่แววตาและขน [18]




หลักการวาดเส้นวัตถุสิ่งของ 

โดยขั้นตอนการวาดเส้นวัตถุสิ่งของ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นแบบที่เป็นหุ่นนิ่ง [19] ดังนั้นจึงมีเทคนิควิธีการเฉพาะ ดังนั้นการวาดภาพหุ่นนิ่งต่างจากการวาดเส้นประเภทอื่นตรงที่การวาดเส้นหุ่นนิ่ง ผู้วาดไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่ต้องรู้จักเลือกมุมมองในการวาดออกมาเป็นภาพ ต้องมีความรู้ในการจัดองค์ประกอบศิลป์ของภาพทั้งหมด ต้องมีความรู้ในการลงน้าหนักแสงเงา เพราะผู้วาดแต่ละคนจะมีมุมมอง มีจินตนาการและอารมณ์ต่อแบบหุ่นนิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าซึ่งแตกต่างกันออกไป สาหรับขั้นตอนการวาดภาพหุ่นนิ่งวัตถุสิ่งของ มีดังนี้ 1. กาหนดพื้นที่หรือขอบเขตทั้งหมดของหุ่นให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ 2. กาหนดตาแหน่งของวัตถุภายในโดยให้มีวัตถุหลัก 1 ชิ้น เพื่อเป็นต้นแบบหลักในการเปรียบเทียบกาหนดสัดส่วนกับวัตถุชิ้นอื่น 3. ทาการร่างภาพคร่าวๆ ด้วยดินสอและไม่ควรลงน้าหนักมือในการร่างภาพให้เส้นที่ร่างนั้นมีความเข้มจนเกินไป เพราะจะทาให้มีผลกระทบต่อการแรเงา ไล่เรียงน้าหนักแสงเงา จนทาให้ภาพออกมาดูไม่สะอาดหรือดูเลอะเปรอะเปื้อนได้ 4. ดูตาแหน่งของวัตถุต่างๆ ให้มีสัดส่วนที่ถูกต้องสอดคล้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยมีการวัดสัดส่วนเปรียบเทียบระหว่างวัตถุหลักกับวัตถุอื่นๆ ว่ามีขนาดใหญ่ไปหรือเล็กไป มีตาแหน่งที่วางอยู่ด้วยกันแล้วระดับความสูงต่าถูกต้องหรือไม่ 5. ให้น้าหนักแสงเงาแบบรวมๆ ภาพหุ่นนิ่งนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นหลัง ฉะนั้นหากต้องการให้วัตถุโดยรวมเป็นน้าหนักอ่อน พื้นหลังก็ควรจะเป็นน้าหนักเข้ม หรือหากวัตถุเข้ม พื้นหลังก็ควรจะอ่อน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเรื่องราวที่จะนาเสนอ ดูว่าลงน้าหนักไปแล้วงานดูมีบรรยากาศหรือไม่ เพื่อให้งานที่ออกมามีอารมณ์ความรู้สึก 6. ขั้นตอนต่อมา คือการเพิ่มรายละเอียดของวัตถุ แสงเงา 7. ขั้นตอนสุดท้าย คือ ปรับปรุงแก้ไขจนภาพเสร็จสมบูรณ์
การวาดเส้นเป็นพื้นฐานการเขียนภาพ
ถ้าใครมีทักษะพื้นฐานหรือความชานาญทางการวาดเส้นมาเป็นอย่างดี จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้นไปด้วย โดยต้องคานึงถึงหลักการเขียนภาพ อันมีส่วนประกอบต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ [20]
1. เส้น 2. รูปร่างและรูปทรง 3. ขนาดและสัดส่วน 4. การจัดภาพ 5. การลงน้าหนัก

1. เส้น (Line)

เส้นเป็นมูลฐานสาคัญอันดับแรกของงานศิลปะทุกประเภท และเป็นส่วนสาคัญที่สุดของการเขียนภาพเพราะเส้นถูกใช้งานในการสร้างรูปทรง น้าหนัก แส เงา ตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดปริมาตรและความแน่นที่เป็นรูปทรงของภาพ ความหมายของเส้น คือ จุดหลายพันจุดนับไม่ถ้วน เคลื่อนไหวไปในบริเวณว่าง (Space) ตามทิศทางที่ผู้ลากต้องการ จากผลจากการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เส้นจึงเกิดจากการลาก ขูด ขีด ด้วยวัสดุต่างๆ เช่นดินสอ ปากา พู่กัน แปรง ฯลฯ ขนาดของเส้นจึงมีความกว้าง ยาว หนา บางแตกต่างกันไปตามขนาดของวัสดุที่เรานามาเขียน
2) ขนาดของเส้น การลากเส้นขนาดของเส้นขึ้นอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และเมื่อลากเส้นขนาดของเส้นย่อมเกิดจากอุปกรณ์นั้น เช่น ขนาดจากเส้นปากกาเบอร์ต่างๆ ขนาดจากปลายพู่กัน ตลอดจนเส้นจากแท่งถ่าน (เกรยอง) กิ่งไม้จุ่มหมึก เป็นต้น โดยสามารถแบ่งขนาดของเส้นออกได้ดังนี้ 2.1 เส้นบางหรือขนาดเล็ก (Thin Line) 2.2 เส้นขนาดกลางหรือหนา (Thick Line) 2.3 เส้นขนาดใหญ่หรือทึบ (Variable Line) จากขนาดต่างๆ ของเส้น เมื่อนามาสร้างภาพเรียกว่า การจัดเส้น (Composite Line) คือ การใช้เส้นขนาดต่างๆ ในภาพเดียวกัน อันจะทาให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้นตามอารมณ์ของภาพที่ผู้วาดต้องการนาเสนอต่อผู้รับสารหรือผู้ดูภาพของเรา 
3) ตาแหน่งของปลายดินสอ เทคนิคพื้นฐานของการวาดเส้นให้ได้ขนาดต่าง ๆ โดยการวางตาแหน่งของปลายดินสอ บนพื้นกระดาษ ในลักษณะของการจับดินสอเอียง หรือ เฉียง จะเกิดความแตกต่างของขนาดเส้นที่ได้ ถ้าจับวาดในแนวดิ่งจะได้เส้นเล็ก ถ้าเอียงมุมลง เส้นจะโตขึ้น หรือถ้าต้องการให้ได้พื้นที่มากแบบระบาย ก็จับดินสอให้เอียงมากขึ้น ขนาดของเส้น หนา บาง ใหญ่ หรือเล็กนั้น ขึ้นอยู่ที่การควบคุมน้าหนักมือ การพลิกเลื่อนหามุม และตาแหน่งที่ปลายดินสอ หากปลายดินสอทื่อเส้นดินสอก็จะใหญ่ หนา ถ้าปลายดินสอแหลมเส้นก็จะเล็กบาง ดั้งนั้น ผู้เขียนภาพส่วนมากจะใช้วิธีพลิกเลื่อนมือ หมุนดินสอเปลี่ยนมุมไส้ดินสอหาแง่ที่แหลมทุกครั้ง ที่ต้องการให้เส้นเล็ก และต้องการให้เส้นใหญ่หรือแรเงาเรียบๆก็หามุมที่ต้องการ
4) เส้นร่าง เส้นร่าง เป็นเส้นที่มีความสาคัญมากในการร่างภาพโครงสร้าง ขณะวาดเส้นและใช้แนวดินสอทามุมระนาบของกระดาษประมาณ 15 องศา การวาดเส้นร่างจะวาดด้วยการทางานของช่วงข้อศอกและแขน ดังนั้นการจับดินสอจึงสามารถร่างดินสอได้คล่องตัว ทารัศมีของการร่างเส้นได้กว้างทั่วทั้งแผ่นภาพ คือสามารถร่างเส้นจากส่วนบนของแผ่นภาพลงมาส่วนล่างได้โดยการร่างเส้นเดียวติดต่อกันโดยตลอดและรวดเร็ว การร่างภาพจะร่างเส้นที่มีน้าหนักเบา จะใช้วิธีผ่อนน้าหนักมือจากการจับดินสอนั้น เส้นร่างที่ใช้ในการร่างภาพโครงสร้าง ถ้าคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาด ไม่นิยมลบออกทันทีเพราะการร่างเส้นร่างนั้นด้วยดินสออ่อน 2 บี ,4 บี และร่างด้วยเส้นเบาๆ ก่อน เมื่อผิดพลาดก็ร่างขึ้นใหม่ เส้นเก่าที่ผิดจะเป็นแนวเปรียบเทียบให้เส้นที่ร่างขึ้นใหม่มีความถูกต้อง การลบทิ้งเมื่อผิดพลาดจะทาให้กระดาษช้า และไม่มีเส้นไว้เป็นเครื่องสังเกต การควบคุมน้าหนักมือนั้น มีผลต่อลักษณะของเส้นเช่นกัน ขณะที่ลากเส้นดินสอหากเน้น น้าหนักมือลงปลายดินสอ เส้นที่ปรากกฎก็จะมีน้าหนักเข้ม เส้นหนา และเมื่อต้องการเส้นที่มีน้าหนัก อ่อนเบา ก็จะใช้วิธีผ่อนน้าหนักมือจากการจับดินสอนั้น

2. รูปร่างและรูปทรง (Shape & Form)

รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาว ไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระ ที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล
รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดง ความกว้าง ความยาวแล้วยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย เช่น รูปทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่าน้าหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน





วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้นในการวาดเส้น

บทที่ 1

ความรู้เบื้องต้นในการวาดเส้น


เส้น เป็นคำที่มีความหมายโดยปกติของการรับรู้อยู่แล้วว่า เป็น วัตถุ สิ่งของ ที่มีลักษณะ ยาว หรือเป็นสาย และมีความชัดเจนขึ้นอีกถ้าไปผสมกับคำใดเข้า เช่น เส้นหมี่ เส้นทางเดินรถ เส้นไหม เส้นเลือด เส้นเชือก ฯลฯ แต่ถ้าในทางการขีดเขียนหรือวาด จะถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ที่จะทำให้เกิดภาพต่างๆขึ้น เพื่อการสร้างสรรค์ ออกแบบผลงานต่างๆ ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องมือเข้าช่วย ขีด ลาก วาด ได้แก่ ดินสอ ปากกา พู่กัน ฯลฯ โดยมพื้นที่รองรับส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษ ขนาดของเส้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของอุปกรณ์นั้นๆ

การเกิดของเส้นถ้ามองอีกมุมหนึ่งในองค์ประกอบของการออกแบบ อาจกล่าวได้อีกแง่หนึ่งว่า เส้นคือ จุดที่เคลื่อนที่ และต่อเนื่องบนที่ระนาบหรือบนแผ่นกระดาษ ถ้าเส้นปรากฏเป็นตัวอักษรก็จะเป็นภาษาเขียนของมนุษย์ที่สื่อสารกัน แต่ถ้าเส้นถูกวาดอย่างมีทิศทาง มีความหมายเป็นรูปร่าง ก็จะเกิดเป็นภาพต่างๆ เพื่อสื่อความหมายหรือเพื่อการสร้างสรรค์งาน ก็จะเป็นขบวนการสร้างภาพที่อาศัยทักษะฝีมือ มีความสัมพันธ์กับการคิดที่ต้องใช้ สติปัญญาจะเห็นได้ว่า การวาดเส้น เป็นการถ่ายทอดความคิดออกเป็นรูปภาพที่ทำได้ สะดวก และ รวดเร็ว ส่วนจะได้ความหมาย หรือ เหมือน ถูกต้องมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือของแต่ละคนไป
วาดเส้น เป็นคำผสมซึ่งพอจะแยกความหมายได้เป็น 2 คำ คือ
   1. วาด เป็นการกระทำให้เกิดภาพ โดยใช้มือจับอุปกรณ์ ขีด เขียน ถู ไถ ฯลฯ มากกว่าการเขียนเป็นตัวอักษร หรือข้อความ
   2. เส้น เป็นวัตถุ สิ่งของ หรือ รอย ที่มีลักษณะยาว ถ้าในงานออกแบบ เส้น จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างผลงาน
ธรรมชาติของเส้น
  -มีขนาดต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้ในการลากหรือวาด
  -ตัวมันเองมีเพียงมิติเดียว แต่เมือวาดอย่างมีจุดประสงค์จะทำให้ได้ผลงาน หลายมิติ
  -มีลักษณะของความยาวมากกว่าความหนา

ในที่นี้ขอให้ความหมายของการ วาดเส้น ว่าการที่เราใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ขีด เขียน เป็นภาพ ที่มีความหมายตามที่สมอง หรือ สติปัญญาสั่ง การ โดยมีตาเป็นสื่อรับรู้ของการเกิดภาพนั้นๆ
ผลงานของการวาดเส้น จะให้ความรู้สึกต่างๆมากมาย ตั้งแต่พื้นฐานง่ายๆจนถึงเนื้อหาที่ซับซ้อนจะเห็นได้ว่า การวาดเส้น เป็นพื้นฐานหลักในการถ่ายทอด ความคิด ออกเป็น รูปร่าง รูปภาพ ไม่เพียงแต่ผู้ที่เรียนทางด้านศิลปะ ออกแบบ ผู้สนใจทั่วไป แม้นแต่มนุษย์ยุดโบราณก็ยัง ขีดเขียนเป็นภาพสะท้อนเรื่องราวต่างๆ บนเพดาน หรือผนังถ้ำ เป็นการแสดงให้เห็นถึง สติปัญญา ความสามารถของทักษะฝีมือ และวิธีการถ่ายทอดที่เป็นคุณสมบัติส่วนหนึ่งของมนุษย์ บางคนอาจวาดเส้นถ่ายทอดได้ดี บางคนอาจมีปัญหา แต่การฝึกฝนอย่างมีหลักการก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เกิดทักษะฝีมือ


ประวัติการวาดเส้น
มนุษย์ได้สร้างสิ่งต่างๆมากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และก็สร้างกันต่อไปในอนาคตอย่างไม่หยุดนิ่ง ในยุดแรกของมนุษย์สิ่งที่สร้างก็เพื่อการดำรงชีพ หาอาหาร ต่อสู้กับสัตว์ ภัยธรรมชาติ  และต่อสู้กับระหว่างเผ่าพันธุ์ ทุกอย่างต่อเนื่องปรับเปลี่ยนและมีวิวัฒนาการ บางอย่างก็ทิ้งร่องรอยของผลงานเอาไว้ ให้ศึกษาเป็นข้อมูลเรื่องราวต่างๆ การจะหาคำตอบถึงสาเหตุ และข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ก็คงจะหาคำตอบที่ชัดเจนได้ยาก แต่ก็มีข้อเท็จจริงบางส่วนตามที่นักโบราณคดีได้ศึกษาค้นคว้าจากหลักฐานเอาไว้ ซึ้งเป็นวิชาการแขนงเดียวที่ให้คำตอบที่ใกล้เคียงมากที่สุดในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้
1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (15,000 B.C.) ผลงานของมนุษย์ยุคนี้ที่ปรากฏให้เห็น นอกจากจะให้ข้อมูลที่สำคัญทางโบราณคดียังสะท้อนให้เห็นถึง คุณค่าทางทักษะฝีมือมานานนับหมื่นปี
นักโบราณคดีได้สันนิษฐานไว้ว่า ผลงานของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการวาดหรือศิลปะ เกิดในบริเวณทวีปริกา แล้วโยกย้ายที่ทำมาหากินไปตามที่ต่างๆ บางกลุ่มขึ้นทางเหนือผ่านทะเลทรายซาฮาร่า ข้ามทะเลเมติเตอร์เรเนียนไปถึงยุโรป เพราะพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดีจะเป็นที่ยอมรับกันว่า มนุษย์พวกแรกที่ถือว่ามีฝีมือทางช่างศิลป์ คือ พวก โคร-มันยอง (Cro-magnon) มนุษย์พวกนี้รู้จักหลบอากาศหนาวเย็นเข้าอาศัยอยู่ในถ้ำ รู้จักเขียนภาพต่างๆโดยเฉพาะจากประสบการณ์ที่รับรู้มา รู้จักสร้างสรรค์ สร้างและประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย ใช้สอย และ ล่าสัตว์
ภาพที่ 1.1 ภาพวาดบนผนังในถ้ำ Lascaux ในประเทศฝรั่งเศส
ภาพวาดผนังถ้ำ (Cave painting) ตั้งแต่ยุคหินเก่า สะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ภาพวาดผนังถ้ำที่พบมากได้แก่บริเวณ ทางตอนเหนือของสเปญ ถ้ำอัลตามิรา (Altamira) และทางตอนใต้ของ ประเทศฝรั่งเศส ถ้ำลาสโค ( Lascaux )

                                                                       ภาพที่ 1.2 ตำแหน่งถ้ำ Lascaux ในประเทศฝรั่งเศส และ Altamiraประเทศสเปญ
1. ผู้ที่วาดหรือผู้สร้าง สันนิฐานว่าเป็นหัวหน้ากลุ่ม หรือ พ่อมดหมอผี ซึ่งเป็นผู้มี   ความสามารถ  ในการถ่ายทอดความคิดประสบการณ์ สร้างความเชื่อ และ สร้างภาพได้สอดคล้อง ลงบนผนังถ้ำได้
2. การสร้างภาพจะวาดเส้นภาพนอกก่อนแล้วใช้สีที่เป็นผงระบายภายหลัง โดยใช้ไขสัตว์  เลือด หรือน้ำผึ้ง ทาบริเวณที่จะระบายก่อน แล้วใช้ผงสีพ่นลงไป บางที่ก็แปรงซึ่งทำจากเปลือกไม้ทุบแตกเป็นเส้น หรือขนนกช่วยทา
3. สีที่ใช้คงหาจากทรัพยากรใกล้เคียง ได้แก่ ดินสีเหลือง สีแดง สีดำ สีดินเทศ
4. รูปที่เขียนบางรูปจะเซาะขอบเป็นร่องก่อน บางรูปก็อาศัยลักษณะสูงต่ำของผนังเป็นส่วนประกอบเข้ากับลักษณะของภาพ เช่น ผนังที่นูนอาจเป็นส่วนท้องของสัตว์
5. ภาพวาดของสัตว์จะแสดงรูปด้านข้างเป็นส่วนมาก มีทั้งตัวเดียว และ เป็นฝูง จะมีภาพของคนปนอยู่น้อย
6. ภาพวาดของสัตว์ จะแสดงขนาด และชนิดของสัตว์ตามความคิดคำนึงไม่ตรงกับความเป็นจริงนัก และไม่แยกประเภทของสัตว์บก หรือ สัตว์น้ำ
7. เรื่องราวของภาพจะเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิต การล่าสัตว์ เช่นสัตว์ได้รับบาดเจ็บ ถูกฆ่า ถูกลูกธนู ถ้าเป็นความสมบูรณ์ก็มักแสดงอวัยวะเพศเด่นชัด หรือถ้าต้องการแสดงความเชื่อของความสำนึกบาปก็จะเขียนภาพสัตว์ให้สวยงามกว่าตัวจริง โดยหวังว่าจะได้รับการอภัย เป็นต้น

2. ผลงานวาดเส้นของอียิปต์ (4000-2280 B.C.) เป็นอีกยุกต์หนึ่ง ที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เด่นชัด และ มีประวัติความเชื่อแนวทางในการสร้างสรรค์งาน ซึ่งเป็นชนชาติที่สร้างอารยะธรรมของลุ่มแม่น้ำไนล์ อยู่ทางตอนใต้ของทะเลเมติเตอร์เรเนียน อียิปต์มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แล้วค่อยๆเสื่อมลงต่อมาก็เสียเอกราชให้กับเปอร์เซีย ประมาณ 525 ปี ก่อน ค.ศ.
ชาวอียิปต์ มีความเชื่อซึ่งมีอิทธิพลในการสร้างผลงาน คือ
1.       เชื่อว่าชีวิตในโลกหน้ามีจริง และมีความสำคัญ
2.       เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วย ร่างกายและวิญญาณ
3.       เชื่อว่าฟาโรห์คือพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ และเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ที่ให้ คุณและโทษ
4.   เชื่อว่าการแสดงออกตามมุมมองที่เหมาะสม ให้เข้าใจง่ายเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างงานศิลปะ
5.       เชื่อว่า หลักการ กฎเกณฑ์ ทางศิลปะเป็นสิ่งดี ต้องเคารพ
จากความเชื่อดังกล่าว จึงมีผลทำให้ชาวอียิปต์ สร้างผลงานที่มีความคงทนอยู่จนถึงปจัจุบันนี้ เช่น สร้างปิรามิด เป็นผลงานสถาปัตยกรรมปิดตาย ที่มีความแข็งแรง ทนทาน เพื่อรักษาร่างศพของฟาโรห์ไว้ เพื่อจะกลับมามีชีวิตใหม่อีกตามความเชื่อ โดยมีภาพเขียนตามผนังห้องเก็บศพ ห้องประวัติฯ ห้องสมบัติ เป็นภาพช่วยเตือนความทรงจำเมื่อฟื้นคืนร่าง
                                              ภาพที่ 1.3 ภาพวาดเส้นเรื่องราวการออกประพาสทางน้ำของฟาโรห์ (Thebes.XVIII Dynasty )
ผลงานวาดเส้นอียิปต์ จะมีเอกลักษณ์อยู่หลายอย่าง ดังนี้
1.       มีการตัดเส้นรอบนอก วาดรายระเอียดชัดเจน และใช้สีเรียบ
2.       การวาดภาพคนมักจะสลับด้านของหุ่น เพื่อการถ่ายทอดให้ชัดเจน
3.       ภาพของคนจะมีลักษณ์ของรูปร่าง ส่วนหัวและคอเป็นรูปด้านข้าง ตาด้านหน้า บริเวณอกเป็นรูปด้านหน้า ท่อนขาจนถึงเท้าเป็นรูปด้านข้าง
ภาพที่ 1.4 ภาพวาดเส้นจากผนังเกี่ยวกับการถวายสิ่งของ ของ Hapi (Thebes.XVIII Dynasty )

ภาพที่ 1.5 ภาพวาดเส้นจากผนังของ Sennofer (Thebes.XVIII Dynasty )
ภาพที่ 1.6 ภาพวาดเส้นเรื่องราวการเทพเจ้า Nekhbet (Thebes.XVIII Dynasty )
ภาพที่ 1.7 ภาพวาดเส้นเรื่องราวเทพ Isis (Thebes.XIX Dynasty )

3. การวาดเส้นในสมัย กรีก และโรมัน   ถือเป็นมารดาของอารยะธรรมตะวันตกเกือบทุกแขนง  แนวปรัชญาของสำนักต่างๆ มีความเจริญมาก  ทำให้เกิดแนวทาง ทางความคิดมาก และสำนักคิดเหล่านั้นพิจารณาปัญหาเหตุผลต่างกัน  สำหรับทางด้านศิลปะและการวาดเส้นนั้น  ศิลปินกรีกถือกันว่า  เป็นผลของความพยายามของมนุษย์ ที่ถ่ายทอดเลียนแบบธรรมชาติ  (Art is the imitation of nature.)  โดยมุ่งที่จะแสดงให้เห็นในความเชื่อเด่นๆ ของสังคมสองประการ  คือ  ความชัดเจน และความบริสุทธิ์  (Clarity and purity

   รูปคนหรือการถ่ายทอดคน  ถือเป็นรูปแบบอันสำคัญของการวาดเส้น  โดยศิลปินกรีกพยายามที่จะใช้ความสมบรูณ์ และ ความงามของคนเป็นแบบ  ถ่ายทอดเทพเจ้าตามที่คนมีความเชื่อ  เทพเจ้าอะพอลโล ก็ดี  หรือ เทพเจ้าวีนัสก็ดี  ต่างก็ได้แบบอย่างจากเรือนร่างอันสมบรูณ์ของมนุษย์ผู้เต็มใจเป็นหุ่นให้  และแนวคิดที่ยอมเป็นหุ่นนี้ให้อิทธิพลสืบต่อมาจนถึงสมัยฟื้นฟูและในสมัยหลังๆ บ้างเหมือนกัน
   ศิลปินกรีก มีความชำนาญในการถ่ายทอดบนผนังโค้งของไห  ด้วยการออกแบบผสมกับรูปทรงเรขาคณิตเป็นแบบต่างๆ งดงาม  บนพื้นที่จำกัด  และรู้จักใช้น้ำยาเคลือบตกแต่งด้วยสีอิฐ และสีดำ  โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับขนบประเพณีและนักรบ  ศิลปินนอกจากจะแสดงความชัดเจนแล้ว  ยังแฝงจินตนาการของตนเองไว้ในภาพเขียนอีกด้วย  และ ในสมัยหลังๆ จินตนาการมีส่วนให้อิทธิพลต่อการวาดเขียนมาก  จนกลายเป็นการออกแบบตกแต่ง